ส่วนประกอบของรังนก
จากรายงานการสำรวจโภคกิจเมื่อปี พ.ส. พ.ศ. 2473-2474 ของ ดร. คาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน ศาลาแยกธาตุ กระทรวงเศรษฐการ ได้รายงานผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของรังนกจากจังหวัดชุมพร พบว่า มีเถ้าปูนอยู่เป็นจำนวนมาก โปรตีน ร้อยละ 49.8 ความชื้นร้อยละ 16.3 และไขมันร้อยละ 0.06 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2479 บริษัทไทยรังนก ถนนราชวงศ์ กรุงเทพฯ ได้ส่งรังนกให้นักเคมีชาวเยอรมันวิเคราะห์ พบว่ารังนกมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักร้อยละ 53.69 ความชื้นร้อยละ 10.4 ในปี พ.ศ. 2545 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำรังนกถ้ำจากบริษัทรังนกแหลมทองสยาม ซึ่งได้รับสัมปทานการเก็บรังนกในจังหวัดภาคใต้มาวิเคราะห์ส่วนประกอบอื่นเพิ่มเต็ม ผลแสดงไว้ในตารางที่ 1 ดังนี้ [3]
| หน่วย | *รังนก รังสีขาว | **รังนก รังสีแดง | ***รังนก รังสีแดง |
ความชื้น | ร้อยละ | 17.8 | 18.2 | 18.1 |
คาร์โบไฮเดรต (โดยการคำนวณ) | ร้อยละ | 22.3 | 22.7 | 21.0 |
โปรตีน | ร้อยละ | 52.8 | 56.9 | 56.6 |
ไขมัน | ร้อยละ | ไม่พบ | ไม่พบ | ไม่พบ |
เถ้า | ร้อยละ | 7.03 | 8.08 | 10.2 |
กาก | ร้อยละ | 0.08 | 0.08 | 0.07 |
โซเดียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 1 572.1 | 1 282.5 | 1 182.9 |
โพแทสเซียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 11.5 | 28.7 | 60.1 |
แคลเซียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 814.0 | 1 569.4 | 2 115.2 |
ฟอสฟอรัส | มิลลิกรัม/100กรัม | 9.04 | 8.50 | 13.8 |
เหล็ก | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 11.7 | 36.8 | 56.3 |
ทองแดง | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 3.81 | 3.81 | 5.48 |
สังกะสี | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 1.60 | 2.58 | 2.71 |
ตะกั่ว | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | ไม่พบ | 0.04 | ไม่พบ |
สารหนู | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 0.07 | 0.07 | 0.21 |
แมงกานีส | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 1.47 | 11.6 | 5.51 |
แมงกานีส | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | ไม่พบ | ไม่พบ | ไม่พบ |
[แก้]ส่วนประกอบและสารอาหารของรังนก
รังนก เป็นอาหารเสริม สุขภาพหรือบำรุงร่างกายชนิดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชาวจีนและกลุ่มคนที่มีฐานะดี ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นอาหารฟังก์ชัน โดยในอดีตนั้นรังนกนางแอ่นที่ต้มกับน้ำตาลกรวดได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารบำรุงชั้นยอดของฮ่องเต้ ตลอดจนกลุ่มชนชั้นสูงของจีน วัฒนธรรมการรับประทานรังนกในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์และ ประเทศอื่นๆ พลอยได้รับวัฒนธรรมนี้ถ่ายทอดจากชาวจีนด้วยและยังพบหลักฐานว่าในสมัยราชวงค์หมิงตอนปลายนั้น เมื่อแพทย์เขียนใบสั่งยามักจะมีรังนกเป็นส่วนผสมเสมอ เพราะแพทย์จีนเชื่อว่ารังนกสามารถรักษาโรคทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงสุขภาพเด็ก สตรีและคนชรา ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้มีความนุ่มนวลอ่อนเยาว์ ช่วยบำรุงปิดและเลือด และช่วยบำรุงสุขภาพของผู้ป่วยในระยะพักฟื้นรวมทั้งสตรีหลังคลอดบุตร
รังนก เป็นผลิตผลที่ได้จากน้ำลายของนกแอ่นกินรัง ซึ่งอยู่ในกลุ่มนกแอ่นสวิฟต์เลต (Swiftlet) ซึ่งเป็นกลุ่มนกแอ่นที่ทำรังด้วยน้ำลายซึ่งนำรังมากินได้ รังนก เป็นผลิตผลที่ได้จากน้ำลายของนกแอ่นกินรัง ซึ่งอยู่ในกลุ่มนกแอ่นสวิฟต์เลต (Swiftlet) ซึ่งเป็นกลุ่มนกแอ่นที่ทำรังด้วยน้ำลายซึ่งนำรังมากินได้ รังนกที่สร้างในครั้งแรกจะสร้างจากน้ำลายล้วนๆ รังนกจะมีลักษณะมีสีขาว เป็นเส้นยาวถือเป็นรังที่สมบูรณ์ที่สุด ทำให้มีราคาแพง ในปี พ.ศ. 2534 ราคารังนกดิบของไทยกิโลกรัมละ 25,000 บาท ต่อมาปี พ.ศ. 2537 ราคาได้เพิ่มเป็น 50,000 บาท และพุ่งขึ้นเป็น 2-3 เท่าเมื่อมีการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และปี พ.ศ. 2539 รังนกดิบในประเทศไทยราคาได้เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70,000 บาท
เนื่องจากรังนกมีผู้สนใจรับประทานกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย จึงมีธุรกิจการทำรังนกเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริโภค เช่น เครื่องดื่มรังนกแท้ เครื่องดื่มรังนกผสมโสม
ในการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มโดยส่วนใหญ่ มีขั้นตอนคร่าวๆ คือ นำรังนกแห้งมาทำความสะอาด กำจัดขน และสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด หลังจากนั้นจึงตุ๋นต้มรังนกกับน้ำ เติมน้ำตาลกรวด ต่อจากนั้นจึงนำไปแบ่งบรรจุใส่ขวดแล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไรด์เซชั่น
[แก้]การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของรังนก
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของรังนกมีดังนี้
• ในรังนก มีสารที่มีฤทธิ์คล้ายกับ Epidermal growth factor (EGF) ซึ่งมีคุณสมบัติ กระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาวชื่อ Leucocyte ที่ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งเพราะเลี้ยงในหลอดทดลอง เกิดการแบ่งตัว [5]
ในสารสกัดที่ได้จากรังนกประกอบด้วย Epidermal growth factor (EGF) ซึ่งมีองค์ประกอบเหมือนกับ EGF ที่มีอยู่ในคน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นนอกสุด และเยื่อบุต่างๆ การทดลองนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น โดยได้มีการทำให้สารสกัดให้บริสุทธิ์ เพื่อนำสารสกัดไปพัฒนาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพต่อไป [6]
• จากความเชื่อในประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆของรังนก ทำให้มีการศึกษาองค์ประกอบของรังนกและพบว่า ไกลโคโปรตีนในรังนกช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาว ที่ชื่อ Monocyte ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ [7]
• จากความพยายามในการศึกษากลุ่มคาร์โบไฮเดรต ที่แยกได้จากไกลโคโปรตีนที่พบได้ในรังนก พบว่ามี 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องคือ กลูโคซามีน (Glucosamine) และครอนโดซามีน (chondrosamin). [8]
• การศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า ไกลโคโปรตีน ที่ผลิตจากต่อมน้ำลายของนกแอ่นกินรัง มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย ไกลโคโปรตีนที่มีกรด sialic ส่วนประกอบหลัก กรด silica เป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เป็น องค์ประกอบของ gaglioside ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบสมอง (Structure of the Monosialyl Oligosaccharides Derived from Salivary Gland Mucin Glycoproteins of the Chinese Swiftlet [9]
• Nakagawa H และคณะนักวิจัยจาก Tulane University Health Sciences Center School of Medicine, New Orleans ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าไกลโคโปรตีนในรังนก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ nonsulfated chondroitin glycosaminoglycans(GAGs). [10]
• ไกลโคโปรตีนในรังนก อุดมไปด้วยกรดอะมิโน เซอรีน ทรีโอนีน และโปรลีน [12]
• คณะนักวิจัยจาก ประเทศญี่ปุ่น ได้พิสูจน์ และค้นพบกลไกลเสริมภูมิคุ้มกันของรังนก โดยนักวิจัยได้เตรียมตัวอย่างรังนก โดยเลียนแบบกระบวนการผลิต และการย่อยอาหารของมนุษย์ ก่อนจะนำตัวอย่างที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพ นักวิจัยพบว่ารังนกมีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โดยโปรตีนแบบพิเศษที่มีในรังนกจะไปจับเชื้อไวรัสและยับยั้งการเกิด hemagglutination ที่จำเป็นในการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัส จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ทั้งไวรัสที่มีในคน เป็น และหมู ท้ายสุดผู้วิจัยได้สรุปผลว่า รังนกเป็นอาหารที่ปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ [13]
• ต่อเนื่องจากการศึกษาที่พบว่า สารสกัดจากรังนกมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจาก O- or N-glycoconjugates การศึกษานี้พบว่า โครงสร้างที่มีกรด sialic เป็นตัวหลัก เป็นตัวทำให้เกิดผลในการต้านไวรัสดังกล่าวได้ [1
คิดถึงบ้านรังนก คิดถึงนครรังนก
จำหน่ายทั้งปลีก-ส่งทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
นครรังนก
สอบถามและติดต่อได้ที่
มือถือ 085-8277198
มือถือ 093-6922527(Line)
Line ID:mr.wee0936922527
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น