เป็นเหยี่ยวที่มีขนาดเล็ก ถึงกลาง คือมีขนาดตัวประมาณ 30 ซม.ในตัวผู้ และประมาณ 36 ซม.ในตัวเมีย เหยี่ยวตัวผู้มีส่วนบนของลำตัวตั้งแต่บนหัว ท้ายทอย หลัง ไหล่ รวมทั้งขนคลุมปีก จนถึงตะโพก และ ขนคลุมบนโคนหางเป็นสีเทาแกมฟ้า แต่บริเวณแก้มเป็นสีเทาเหมือนสีขี้เถ้า ขนปลายปีกสีเทาเข้มแต่ปลายขนสีดำ ขนหางคู่บนสุดสีเทาเรียบๆซึ่งอาจมีแถบสีคล้ำ ก่อนถึงปลายหาง 1 แถบ แต่ขนหางคู่อื่นๆ สีเทา มีลายบั้งสีคล้ำๆขวางอยู่ 4 แถบ และใกล้ปลายขนอีก 1 แถบ จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อขนหางของมันกางออก คางและใต้คอสีขาว แต่มีเส้นสีดำ ที่กึ่งกลางคอด้วยซึ่งแลเห็นได้ชัดเจน ด้านข้างของคอออกแดงนิดๆ หน้าอกและท้องสีขาว แต่มีลายบั้งเล็กๆ สีน้ำตาลแดงจางๆ ชิดๆ กันโดยตลอด ขนโคนขาและขนคลุมใต้โคนหางสีขาว ใต้หางสีเทาแต่มีลายบั้งสีคล้ำๆ 5 แถบและที่ปลายหางอีก 1 แถบ ม่านตาสีเหลืองหรือสีแสด หนังรอบจมูกสีเหลืองหรือสีส้ม ปากสีฟ้าคล้ำๆ ขา และ นิ้วเท้าสีเหลือง เล็บสีคล้ำ
เหยี่ยวตัวเมียมีสีสันคล้ายคลึงกับเหยี่ยวตัวผู้ แต่ถ้าหากเหยี่ยวตัวผู้และเหยี่ยวตัวเมียมาเกาะอยู่ใกล้ๆกัน เราจะเห็นว่า เหยี่ยวตัวเมียมีส่วนบนออกสีน้ำตาลและส่วนล่างของลำตัว มีลายบั้ง ออกสีน้ำตาลจางๆชัดกว่าเพราะลายบั้งหนากว่า แต่ถ้าหากเหยี่ยวตัวผู้ และ เหยี่ยวตัวเมียไม่มาเกาะอยู่ใกล้ๆกัน เรามักจะแยกไม่ค่อยออก
อย่างไรก็ตาม นกวัยเด็กของเหยี่ยวนกเขาชิครา ดูไม่เหมือนชิคราที่โตเต็มวัยแล้วเลย โดยนกเด็กจะมีส่วนบนของลำตัว สีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ส่วนล่างของลำตัวสีขาวหรือสีเนื้อ แต่มีลายขีดและจุดรูปหยดน้ำสีน้ำตาลแดงอยู่ทั่วไป ด้านใต้ของหางมีลายบั้งสีเทาสลับกับสีน้ำตาล
เราจะแยกนกเด็กในกลุ่มaccipiter(เช่น เหยี่ยวนกเขาชิครา - Accipiter badius , เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน - accipiter soloensis , เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น - accipiter gularis เป็นต้น)ออกจากกันได้ยาก เพราะเค้าจะค่อนข้างคล้ายกันมาก
ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม เหยี่ยวนกเขาชิคราที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป จะจับคู่ทำรัง วางไข่ นกตัวเมียเป็นฝ่ายสร้างรังโดยการหักกิ่งไม้เล็กๆมาขัดสานเป็นรังหยาบๆ บอบบางโดยทำเป็นแอ่งตื้นๆ หาใบไม้สดมารองรัง รังจะอยู่สูงระหว่าง 6 - 12 เมตร จากพื้นดิน วางไข่ประมาณ2-7ฟอง ปรกติจะเป็น 3 ฟอง นกตัวเมียกกไข่เพียงผู้เดียวเป็นเวลาประมาณ 28-35วัน โดยนกตัวผู้จะเป็นผู้หาอาหารมาให้ และเมื่อลูกฟักเป็นตัวแล้ว ตัวผู้ก็หาอาหารมาให้ทั้งแม่และลูกแต่จะไม่เข้าป้อนเองเลย
เหยี่ยวนกเขาชิคราคู่เดิมมักกลับมาทำรังวางไข่ในสถานที่เดิมทุกปี แต่จะสร้างรังใหม่ทุกปี
อาหารของเหยี่ยวนกเขาชิคราคือ นกขนาดเล็ก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่น หนู และ กระรอก แมลงตัวโตๆ กบ และ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า เหยื่อส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นดิน การล่าเหยื่อ เค้าจะมาแบบเงียบๆไม่ให้เหยื่อรู้ตัว มารู้ตัวอีกทีก็มองเห็นร่างอันไร้วิญญาณของตัวเองเสียแล้ว เพราะ เหยื่อมักจะตายด้วยกรงเล็บของเค้าในทันทีที่เค้าโฉบลงจับ จากนั้นก็จะนำซากไปฉีกกินบนกิ่งไม้โดยใช้เท้าเหยียบเหยื่อไว้
สำหรับประเทศไทย เหยี่ยวนกเขาชิคราเป็นนกประจำถิ่นที่พบจากบริเวณคอคอดกระขึ้นมา บางส่วนเป็นนกที่อพยพผ่านเข้ามาในฤดูหนาวเพื่อลงไปหากินทางแถบมลายูและสุมาตรา เราสามารถพบนกชนิดนี้ได้ในป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และ ป่าดิบเขาที่ค่อนข้างโปร่ง สวนป่า สวนผลไม้ ไร่ ที่โล่งที่มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย สวนสาธารณะใกล้เมือง จากที่ราบถึงความสูงระดับ 1500เมตร
เหยี่ยวนกเขาเป็นภัยใกล้บ้านนกนางแอ่นเป็นอันดับต้นๆของศัตรูที่น่ากลัวกับนกนางแอ่นของท่าน เจ้าของบ้านนกแอ่น ต้องคอยสังเกตุ ว่าในบริเวณใกล้บ้านนกนางแอ่นมีเหยี่ยวนกเขามาวนเวียนหากินหรือไม่ และคงจะไม่ดีแน่ถ้าบ้านนกนางแอ่นของท่านที่เปิดบ้านใหม่มีแขกที่ไม่ได้รับบัตรเชิญมาป่วนเปี่ยนอยู่บริเวณใกล้บ้านนกนางแอ่น เหยี่ยวนกเขามีความว่องไวในการจัดสัตว์เล็กหรือนกเล็ก ๆ และลูกนกนางแอ่นที่อ่อนวัยยังบินไม่เก่ง ซึ่งก็เป็นอาหารอันโอชะของมันซะด้วย ถ้ามันมาแล้ว มันจับนกนางแอ่นที่บ้านของท่านได้ มันจะมาบ่อยๆ ถ้ามัน มาทุกวัน วันละหนึ่งตัว ระยะเวลาหนึ่งเดือนก็30 ตัว แล้วหนึ่งปีละ ไม่อยากคิด อันนี้ไม่รวมเวลามันมีลูก อีก เห็นภาพแล้วเครียด เวลาเหยี่ยวนกเขามามันจะซุมเงียบ และคอยจังหวะจูโจมอย่างรวดเร็วใช้กรงเล็บของมันจับเหยื่อโดยไม่ปราณี แล้วบินไปเกาะจีกกินเครื่องในอย่างโหดร้าย ถ้าไม่อิ่มมันก็รอจับกินอีก แต่ขอเสียของมันคือมันจะเกาะที่เดิม เพราะเป็นที่ที่มันเลือกแล้วว่าหลบพ้นต่อการมองเห็นของเหยือและสามารถจุ่โจมเหยื่อได้ง่าย เราใช้จุดอ่อนนี้ ไปเฝ้ารอมัน แล้วเหนี่ยวให้ล่วง เลยครับเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดมัน ได้ โชคดีนะครับขอให้รังนกนางแอ่นราคาดี ให้ลูกนกนางแอ่นเพิ่มเต็มบ้านนะ
ครับ
คิดถึงบ้านรังนก คิดถึงนครรังนก
075-774859,085-8277198
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น